top of page
-
น้ำยาวานิชที่ทำการเคลือบลวดทองแดงที่มีสีไม่เหมือนกันนั้น แตกต่างกันอย่างไร และมีคุณสมบัติอย่างไรสีของน้ำยาวานิชที่ทำการเคลือบลวดทองแดงนั้นจะเป็นตัวบอกว่าเป็นน้ำยาวานิชชนิดใด และมีคุณสมบัติเช่นไรบ้าง ได้เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยน้ำยาวานิชที่ทำการเคลือบลวดทองแดงแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป โดยจะเน้นใน ด้านความทนทานต่อ อุณหภูมิขณะใช้งานเป็นหลัก (เมื่อนำไปผลิตเป็นตัว Product) หรือทางคุณสมบัติอื่นๆและน้ำยาวานิชที่ ทำการเคลือบลวดทองแดง แต่ละชนิดนั้น จะมีคุณสมบัติเด่นและด้อยแตกต่างกันออกไป
-
สติ๊กเกอร์ของผู้ผลิตที่ติดบนล้อลวดที่พิมพ์บ่งบอกว่า 2-UEW และ 1-PEW คืออะไร ต่างกันอย่างไร2-UEW หมายความว่า ใช้น้ำยาวานิชชนิดที่เป็น Polyurethane ในการเคลือบลวด 1-PEW หมายความว่า ใช้น้ำยาวานิชชนิดที่เป็น Polyester ในการเคลือบลวด ส่วนตัวเลขที่อยู่ด้านหน้านั้นหมายถึง Level ความหนา (Thickness) ของน้ำยาวานิชที่ใช้เคลือบลวด จะแบ่งเป็น Class คือ Class 0 จะมีความหนา ( Thickness ) ของน้ำยาวานิชที่ใช้เคลือบลวด มากที่สุด Class 1 จะมีความหนา ( Thickness ) ของน้ำยาวานิชที่ใช้เคลือบลวด รองลงมาจาก Class 0 CClass 3 จะมีความหนา ( Thickness ) ของน้ำยาวานิชที่ใช้เคลือบลวด บางที่สุด หมายเหตุ ข้อกำหนดต่างๆอ้างอิงจาก JIS Standards และ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( มอก. )
-
น้ำยาวานิชสำหรับเคลือบลวดทองแดงมีกี่ชนิด และแต่ละชนิดมีความทนทานต่ออุณหภูมิได้กี่องศา (°C)สำหรับน้ำยาวานิชสำหรับเคลือบลวดทองแดงนั้นมีหลายชนิด แต่โดยทั่วไปส่วนใหญ่จะมีดังนี้ 1. New thermelt enamelled copper wire ( NEW ) - ทนทานต่ออุณหภูมิ ได้ถึง 105°C 2. Polyvinyl formal enamelled copper wire ( PVF ) - ทนทานต่ออุณหภูมิ ได้ถึง 120°C 3. Polyurethane enamelled copper wire ( UEW ) - ทนทานต่ออุณหภูมิ ได้ถึง 130°C 4. Polyester enamelled copper wire ( PEW ) - ทนทานต่ออุณหภูมิ ได้ถึง 155°C 5. Polyester-Imide enamelled copper wire ( EIW ) - ทนทานต่ออุณหภูมิ ได้ถึง 180°C 6. Polyester-Amide-Imide enamelled copper wire ( AIW ) - ทนทานต่ออุณหภูมิ ได้ถึง 220°C
-
เบอร์ลวดที่ใช้เรียกกันทั่วไปแบบ SWG กับ AWG มีมาตรฐานอย่างไร ต่างกันอย่างไรSWG เป็นมาตรฐานการเรียกขนาดของลวด แบบระบบ Metric ( Metric Unit ) AWG เป็นมาตรฐานการเรียกขนาดของลวด แบบระบบ British ( British Unit ) SWG wire no. และ AWG wire no. เบอร์ของลวดที่เป็นเบอร์เดียวกันจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) ไม่เท่ากัน แต่สามารถเทียบได้ว่า SWG wire no. ขนาดใด เท่ากับ AWG wire no. ขนาดอะไร
-
ลวดที่มี Diameter เล็กๆ และ ลวดที่มี Diameter ที่ใหญ่กว่า มีวิธีการเคลือบวานิชเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรโดยทั่วๆไปลวดที่เคลือบน้ำยาวานิชจะมีขบวนการเคลือบน้ำยาวานิชเหมือนกัน โดยลวดที่มี Diameter เล็กๆ กับลวดที่มี Diameter ที่ใหญ่กว่า จะใช้เครื่องจักรในการเคลือบน้ำยาวานิชที่ต่างกัน ดังนี้ # ลวดที่มี Diameter ตั้งแต่ 0.04 mm. - 0.75 mm.จะใช้เครื่องจักรในการเคลือบน้ำยาวานิช เป็นแบบเครื่องแนวนอน # ลวดที่มี Diameter ตั้งแต่ 0.80 mm. - 2.60 mm.จะใช้เครื่องจักรในการเคลือบน้ำยาวานิช เป็นแบบเครื่องแนวตั้ง ลวดที่มี Diameter ใหญ่นั้น ไม่สามารถนำเครื่องจักรแบบแนวนอนมาทำการเคลือบน้ำยาวานิชได้ เนื่องจากลวด ที่มี Diameter ใหญ่นั้น จะมีน้ำหนักมาก ถ้านำไปเคลือบแบบเครื่องจักรแบบแนวนอน จะทำให้ลวดตกท้องช้างและขณะที่ลวด กำลังเคลื่อนที่ จะทำให้วานิชที่เคลือบบนลวดมีผิวไม่เรียบ และผิววานิชที่เคลือบบนลวดจะเป็นคลื่น และเห็นได้ชัด
-
ลวดทองแดงเคลือบน้ำยาวานิช สามารถอ้างอิงได้จากมาตรฐานใดบ้างโดยทั่วๆไปลวดทองแดงเคลือบน้ำยาวานิช สามารถอ้างอิงได้จากมาตรฐานหลักๆ ดังต่อไปนี้ 1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เช่น มอก. 174-2525 ว่าด้วย มาตรฐานของลวดทองแดงกลมตันเคลือบโพลิยูรีเทน ( Standard for polyurethane enamelled round copper wires ) หรือ มอก.226-2520 ว่าด้วย มาตรฐานของลวดทองแดงกลมตันเคลือบโพลิเอสเตอร์ ( Standard for polyester enamelled round copper wires ) และ ฯลฯโดยมาตรฐานแต่ละมาตรฐานจะแยกตามชนิดของน้ำยาวานิชที่ใช้ เคลือบลวดทองแดง 2. มาตรฐานของ Japanese industrial standards -JIS C3202 : 1994 Enamelled winding wires - JIS C3003 : 1984 Methods of test for enamelled copper and enamelled aluminium wires 3. มาตรฐานของ IEC standards ( International electrotechnical commision ) - IEC 317 Series : โดยมาตรฐานจะแยกตามชนิดของน้ำยาวานิชที่ใช้เคลือบลวดทองแดง
Copper Rate
คำถามที่พบบ่อยที่เกี่ยวกับลวดทองแดง
bottom of page